บริษัทกำจัดปลวก รับกำจัดปลวก กำจัดหนู มด แมลงสาบ โทรปรึกษาปัญหา และสำรวจพื้นที่ ฟรี 081-4535897, 02-4559292
 หน้าหลัก  

 เกี่ยวกับเรา  
 First Pest บริการ  
  1.ระบบเหยื่อ Xterm  
  2.ระบบฉีดพ่นอัดน้ำยาเคมี
  3.ระบบวางท่อป้องกันปลวก


 มาตรฐานการกำจัดแมลง
    มาตรฐานการกำจัดปลวก
    มาตรฐานการกำจัดมด
    มาตรฐานการกำจัดแมลงสาบ     มาตรฐานการกำจัดหนู


 ความรู้เรื่องแมลง
      ปลวก
      มด
      แมลงสาบ
      หนู
 

 แผนที่ ที่ตั้งบริษัท
 







 ผู้เยี่ยมชม
Website counter



มด (Ants)





  • มดเป็นแมลงชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (subarctic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไป ในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย จนมีคำกล่าวว่า มดครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นดิน ประมาณว่าทั่วโลกพบมดจำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่าพบมดแล้วทั้งหมด 9 วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิด โดยมดจัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างจากแมลงอื่นๆ โดยทั่วไปแมลงสังคมมีอยู่ 2 อันดับคือ Hymenoptera ได้แก่ ผึ้ง ต่อ แตนและมด และอันดับ isopteran ได้แก่ ปลวก

  • มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท่จรองที่ขนาดรังมีจำนวนประชากรมาก การสร้างรังทำอย่างประณีต มีการติดต่อสื่อสารและการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ เข้ามาก่อความรำคาญและก่อความเสียหายในบ้านเรือน โดยมีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยกับคน มดบางชนิดสามารถกักหรือต่อยด้วยเหล็กใน ทำให้เกิดคามเจ็บปวด เกิดอาการแพ้หรือเกิดแผลการติดเชื้อซ้ำ จากสาเหตุนี้ มดจึงจัดเป็นแมลงศัตรูและมีความสำคัญทางการแพทย์

  • มดมีลักษณะเหมือนกับแมงกลุ่มอื่นๆ คือสามารถแบ่งลำตัวออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือลักษณะที่สำคัญต่างๆ ปรากฏอยู่ ลักษณะหนวดหักแบบข้อศอก (geniculate) แบ่งออกเป็นส่วน scape และ funicle ในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี 4 – 12 ปล้อง ส่วนเพศผู้มี 9 – 12 ปล้อง ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันเรียกว้า mandible ท้องปล้องที่ 1 จะรวมกับอกปล้องที่ 3 เรียกว่า propodeum ท้องปล้องที่ 2 หรือ 3 มีลักษณะเป็นก้านเรียกว่า abdomen pedicel ซึ่งอาจมีปุ่มหรือไม่มีก็ได้ ส่วนท้องปล้องที่เหลือรวมเรียกว่า gaster 1 คู่ (compound eyes) บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocelli) โดยทั่วไปจะมี 3 ตาอยู่เหนือระหว่างตารวม ตาเดี่ยวจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพ

  • รูปร่างทั่วไปของมด
    ลักษณะภายนอกของมดโดยทั่วไปก็เหมือนกับแมลงกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ลำตัวแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง แต่ที่พิเศษแตกต่างไปจากแมลงกลุ่มอื่นเพิ่มขึ้นมาก็คือ มีเอว (waist) แต่ละส่วนจะมีอวัยวะและลักษณะต่างๆปรากฏซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ละชนิด

  • 1.ส่วนหัว ( Head ) เป็นส่วนแรกของลำตัว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือหัวใจ เป็นที่ตั้งของอวัยวะที่สำคัญบางชนิด ได้แก่

  • หนวด ( Feeler ) เป็นลักษณะหนึ่งที่แตกต่างไปจากแมลงกลุ่มอื่น คือ เป็นแบบหักข้อศอก (geniculate) โดยทั่วไปจำนวนปล้องหนวดของมดงานอยู่ในช่วง 4-12 ปล้อง ส่วนใหญ่มี 12 ปล้อง ปล้องแรกเรียกว่า ฐานหนวด (scape) มีลักษณะค่อนข้างยาวกว่าปล้องที่เหลือรวมกัน พบได้ในมดงานและราชินี ส่วนเพศผู้ส่วนมากมีฐานหนวดสั้นมากกว่าปล้องที่เหลือรวมกัน ปล้องที่เหลือจากฐานหนวดเรียกว่า ปล้องหนวด (funiculus) มีจำนวน 3-11 ปล้อง แต่ละปล้องโดยทั่วไปสั้นกว่ามากเมื่อเทียบกับฐานหนวด หนวดส่วนใหญ่ทำหน้าที่ในการสื่อสารต่างๆ จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการรับความรู้สึก

  • ตา ( Eye ) แบ่งออกได้เป็นตาเดี่ยวกับตารวม มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าหรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลมมีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยว โดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงานพบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

  • ปาก (Pincher) มดมีปากแบบกัดกิน (chewing type) มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดของปากรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยม หรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ อย่างไรก็ตามมดก็มีอวัยวะที่ใช้ในการดูดน้ำหวานด้วยเช่นกัน

  • ร่องพักหนวด เป็นร่องหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัวเป็นที่เก็บหนวดขณะไม่ได้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้นๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

  • 2. ส่วนอก ( Trunk ) เป็นส่วนที่สองของลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่สอง และอกปล้องที่สาม แต่อกปล้องที่สามนี้จะรวมกับท้องปล้องที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นราชินีอกมีขนาดใหญ่กว่าปีก จะพบในมดเพศผู้และราชินีเท่านั้น มดบางชนิดสันหลังอกและอกปล้องที่สองเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่สามกับท้องปล้องที่หนึ่ง มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของขามดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

  • 3. ส่วนเอว เป็นส่วนที่สามของมด คือ petiole เป็นปล้องที่สองของส่วนท้อง อาจเป็นก้าน ปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามีสองปล้องคือ petiole กับ post petiole เป็นปล้องที่สองกับปล้องที่สาม post petiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole อาจมีหนาม 1 คู่

  • 4. ส่วนท้องเป็นส่วนท้ายของลำตัวมด เรียกว่า gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างทรงกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจหรือทรงกระบอกปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กใน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับชนิดที่ไม่มีเหล็กในก็จะเป็นช่องเปิดเล็กๆสำหรับขับสารป้องกันตัวออกมา


  • สังคมของมด

    มดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายในกลุ่มแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้

  • ราชินี (queen) มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่สืบพันธุ์ได้ มดเพศผู้ (male) มีจำนวนเล็กน้อย



  • วรรณะมดงาน (Worker) พบเป็นส่วนมาก เป็นเพศเมียที่เป็นหมัน ในมดบางชนิดมีวรรณะทหาร (intermediate castes) เป็นเพศเมียที่เป็นหมันแต่มีขนาดใหญ่กว่า major worker วรรณะมดงานที่มีขนาดเล็กเรียกว่า minor worker ทำให้มดงานมีหลายลักษณะ ถ้ามดงานมีขนาดและรูปร่างเหมือนกันทั้งกลุ่มจะเรียกว่า monomorphic พบได้ในมดส่วนใหญ่ ถ้ามดงานมีรูปร่างและขนาดสองแบบจะเรียกว่า dimorphic และถ้ามดงานมีหลายรูปแบบ เรียกว่า polymorphic มดทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในกลุ่มและทุกๆวรรณะในกลุ่มนี้จะมีหน้าที่ที่จำเพาะเท่านั้น



  • การสร้างอาณาจักร

    ภายในมดกลุ่มๆหนึ่งจะมีราชินี ที่ทำหน้าที่วางไข่และมดงานที่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากซึ่งรวมถึง ไข่ ตัวหนอน และดักแด้ มดงานเป็นมดที่มีมากที่สุดในแต่ละรัง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและดูแลรัง หาอาหาร ดูแลครอบครัวและราชินี และป้องกันรัง ราชินีและเพศผู้ที่มีปีกจะอยู่ในรังช่วงสั้นๆเท่านั้น ในเวลาต่อมาก็จะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ราชินีโดยทั่วไปคล้ายกับมดงาน ต่างกันตรงที่มีส่วนท้องใหญ่กว่า มดเพศผู้นั้นมีขนาดเท่ากับมดงานหรือเล็กกว่าเล็กน้อย มีหัวเล็กกว่าและตาเดี่ยว ส่วนมากดูคล้ายกับต่อมากกว่ามด มดงานเป็นวรรณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะขณะที่มดงานหาอาหารบนพื้นดินหรือเมื่อขอนไม้ผุหรือที่อยู่อาศัยถูกรบกวน อย่างไรก็ตาม มดงานบางส่วนเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร เนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน อย่างชัดเจนภายในรัง บางกรณีหน้าที่ที่เจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับอายุของมดงาน ตัวอย่างเช่น มดงานที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆจะคงอยู่ภายในรังและดูแลไข่ ตัวหนอน และดักแด้
    เมื่อมีอายุมากขึ้นมดงานก็จะเปลี่ยนกิจกรรมจากดูแลครอบครัวและเริ่มงานใหม่ในการสร้างรังและทางเดิน ในที่สุดมดงานก็จะเป็นผู้ออกไปหาอาหาร แต่มดงานบางตัวอาจดำเนินกิจกรรมที่เหมือนกันตลอดทั้งชีวิต หรือบางกรณีมดงานทั้งหมดอาจดำเนินกิจกรรมทั้งหมดภายในกลุ่ม ในกลุ่มมดงานที่มีสองรูปแบบและหลายรูปแบบ ขนาดของมดงานจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรม ตัวอย่างเช่น มดงานที่เป็น major อาจจะพบภายในรังหรือใกล้รังเท่านั้น ขณะที่มดงานที่เป็น minor จะออกไปหาอาหารไกลจากรัง


  • ชีวิตของมด

    ชีวิตของมดโดยทั่วไปเริ่มด้วย ราชินี 1 ตัวจะบินออกจากรังพร้อมด้วยราชินีและมดเพศผู้ตัวอื่นๆจากรังอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง ราชินีจะหาที่สำหรับผสมพันธุ์ โดยปกติจะถูกดึงดูดด้วยวัตถุขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้สูงๆ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ และยอดเนินเขา บริเวณเหล่านี้จะเป็นที่พบกันสำหรับราชินีและมดเพศผู้ที่มาจากหลายรัง เมื่อพบกัน ราชินีก็จะผสมพันธุ์กับมดเพศผู้ 1 ตัว หรือ 2-3 ตัว ขณะยังคงบินอยู่ในอากาศแต่เป็นช่วงสั้นๆ


    หลังจากนั้นก็จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน ราชินีจะค้นหาพื้นที่ทำรังที่เหมาะสม พื้นที่ที่ราชินีค้นหานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและมีขอบเขตตั้งแต่ยอดไม้จนถึงใต้ดิน ข่วงที่ราชินีค้นหาหรือขณะที่พบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วราชินีจะกัดปีกหรือสลัดปีกออกเนื่องจากไม่ต้องการใช้แล้ว จากนั้นราชินีจะห่อหุ้มตัวเองด้วยปลอกขนาดเล็กๆและวางไข่เป็นกลุ่มเล็กๆ ราชินียังคงอยู่ในรังกับครอบครัว ขณะที่กำลังเจริญเติบโต ตัวหนอนที่กำลังเจริญเติบโตจะกินไข่ที่ไม่ได้ผสมซึ่งราชินีจะวางไข่สำหรับเป็นอาหารโดยเฉพาะ มดงานรุ่นที่ 1 มีขนาดเล็กกว่ามดงานรุ่นถัดๆ มา เพราะว่าราชินีสามารถจัดเตรียมอาหารในปริมาณที่กำจัด เมื่อเปรียบเทียบกับการหาอาหารของมดงาน เมื่อมดงานเป็นตัวเต็มวัย ก็จะเริ่มออกจากรังและหาอาหารโดยการจับเหยื่อกลับมาให้ราชินีและครอบครัวที่เพิ่มขึ้น กลุ่มมดพัฒนาขึ้น เพราะว่ามีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดงานรุ่นใหม่ควบคุมดูแลครอบครัวรวมทั้งหาอาหารเพิ่มขึ้น ที่ระยะนี้ ราชินีจะลดกิจกรรมในการวางไข่และมดงานเข้ารับหน้าที่ทั้งหมดภายในรัง ราชินียังคงมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตกลุ่มมดทั่วไป เพราะว่าราชินีจะควบคุมกิจกรรมของมดงานทั้งหมดในรังด้วยการส่งสารเคมี รูปแบบการค้นหารังตามข้างบนเป็นรูปแบบหนึ่งที่พบทั่วไปและแพร่กระจายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีมดอีกจำนวนมากที่แตกต่างไปจากนี้ ตัวอย่างเช่น การผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนหรือในรังราชินีหลายตัวสร้างรังร่วมกันและอาศัยอยู่ร่วมกันหรือต่อมาก็ต่อสู้กันในการกำหนดราชินีที่เหลืออยู่ภายในรัง ส่วนราชินีตัวอื่นๆถูกบังคับให้ออกไปหรือถูกฆ่าตาย

    ส่วนในบางชนิดนั้นกลุ่มใหม่ถูกสร้างเมื่อราชินีใหม่ออกจากรังไปพร้อมกับมดงานจำนวนหนึ่งและกำหนดถิ่นฐานใหม่ที่ห่างไกลออกไป ราชินีหาอาหารข้างนอกรังก่อนที่มดงานรุ่นที่ 1 จะเกิดขึ้น เป็นต้น ขณะที่กลุ่มมดงานจะเข้าสู่วัยแก่ ราชินีจะเริ่มผลิตราชินีและมดเพศผู้ในรุ่นถัดไป ปัจจัยหลายประการที่เป็นตัวกำหนดการผลิตราชินีใหม่ประกอบด้วย เวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดและที่บรรจุไข่ที่วาง ฟีโรโมนหรือฮอร์โมนที่ผลิตโดยราชินีและอายุของราชินี ส่วนการผลิตมดเพศผู้นั้นถูกกำหนดโดยกลไกอย่างง่ายๆกว่าราชินี ตัวหนอนของราชินีและมดเพศผู้ใหม่จะคล้ายกับตัวหนอนของมดงานแต่โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อนเพื่อคอยภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเริ่มต้นออกจากรัง สภาพที่เหมาะสมนี้จะเป็นสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นการออกจากรังของราชินีและมดเพศผู้เมื่อออกจากรังไปแล้ว ราชินีจะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ภายใน 2-3 วันเท่านั้น ขณะที่มดเพศผู้โดยทั่วไปจะตายภายใน 2-3 วันหลังออกจากรัง

  • การหาอาหารของมด

    ถ้าดูที่ส่วนปากของมดแล้วพบว่า จะมีส่วนที่ใช้กัดและกินรวมไปถึงส่วนที่ใช้ดูดด้วย ดังนั้นมดส่วนมากสามารถดูดน้ำเลี้ยงพืชหรือของเหลวจากแมลงที่ขับถ่ายออกมาได้ รวมไปถึงการกัดและกินพืชที่ตายแล้วหรือชิ้นส่วนของสัตว์ มดงานส่วนใหญ่เป็นพวกตัวห้ำหรือกินซากสัตว์ (scavengers) อาหารของมดนั้นค่อนข้างกว้าง ประกอบด้วย สัตว์ที่ขาเป็นปล้องและเมล็ดพืช มดตัวเต็มวัยกินอาหารที่เป็นของเหลว โดยสะสมของเหลวจากเหยื่อที่จับได้หรือขณะที่ดูแลพวกเพลี้ยต่างๆ และแมลงกลุ่มอื่นๆ เหยื่อที่เป็นของแข็งนั้นก็จะนำกลับไปที่รังโดยมดงาน ตามปกติจะเป็นอาหารของตัวอ่อนมด ตัวเต็มวัยที่อยู่ในรังได้แก่ ราชินี ได้รับอาหารจำนวนมากหรือทั้งหมดจากมดงานที่หาอาหารได้โดยตรง ระหว่างที่หาอาหาร มดงานจะสะสมของเหลวซึ่งจะเก็บสะสมไว้ที่ส่วนบนของระบบย่อยอาหาร เมื่อกลับไปยังรัง มดงานเหล่านี้จะสำรองของเหลวที่สะสมไว้และผ่านเข้าไปยังมดงานตัวอื่นๆ



    ขณะที่มดงานส่วนมากจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป มีมดบางชนิดเจาะจงอาหารในวงแคบๆ มดจำนวนมากชอบกินพวกแมลงหางดีดเป็นอย่างมาก ส่วนมดบางชนิดชอบกินไข่ของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง มดบางชนิดจะเข้าไปยังรังมดชนิดอื่นอย่างรวดเร็วเพื่อจับตัวอ่อนมดและดักแด้ มดจำนวนมากที่มีความจำเพาะกับอาหารที่กินนั้นจะมีการดัดแปลงลักษณะทางสัณฐาน ตัวอย่างเช่น กรามที่พบในพวกกลุ่มตัวห้ำชั้นสูงจะเรียวยาวมากและมีฟันขนาดใหญ่ โดยเฉพาะตอนปลาย เมล็ดของพืชจำนวนมาก มีอาหารที่จำเพาะเรียกว่า elaiosomes ซึ่งจะดึงดูดมดให้เข้ามา มดจะสะสมเมล็ดโดยกินส่วนนี้เป็นอาหาร บางครั้งกินเมล็ดด้วย เมล็ดจำนวนมากยังคงงอกได้หลังจากส่วนที่มีอาหารถูกกินไป เมล็ดจะถูกวางไว้ภายในรังหรือบนกองตรงกลางที่มดสร้างขึ้นมา เป็นบริเวณที่เมล็ดจะมีการงอกในเวลาต่อมา มีความเชื่อว่าเมล็ดที่สะสมโดยมดมีโอกาสสูงมากในการงอกและรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้มีการสะสมจากมด เนื่องจากเมล็ดถูกทำลายน้อยมากโดยพวกกินเมล็ด และเนื่องจากเมล็ดถูกเก็บไว้ในร่มใกล้กับกองดินที่มีธาตุอาหาร โดยทั่วไป มดชอบออกหากินไม่ช่วงกลางวันก็กลางคืน การออกหากินของมดบางชนิดเกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ในบริเวณที่แห้งแล้ง กิจกรรมการหาอาหารของมดจำนวนมากขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ บางชนิดมีกิจกรรมระหว่างช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ส่วนบางชนิดมีกิจกรรมระหว่างตอนที่ร้อนที่สุดของวัน

  • การสื่อสารของมด

    การติดต่อสื่อสารระหว่างมดด้วยกัน ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่ผลิตขึ้นมา สารเคมีชนิดนี้ เรียกว่า ฟีโรโมน เป็นสารเคมีที่สำคัญมากที่สุด สารเคมีชนิดนี้มีหลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น การบอกทาง จะพบเห็นเป็นประจำที่มดเดินขณะที่ออกไปหาอาหารซึ่งจะทำให้สมาชิกมดงานตัวอื่นๆสามารถค้นหาเจอ การเตือนภัยและการผสมพันธุ์ มดจะปล่อยฟีโรโมนเกี่ยวกับพวกนั้นออกมา เช่น เมื่อเกิดอันตรายกับสมาชิกในกลุ่ม มดงานจะปล่อยฟีโรโมนเกี่ยวกับการเตือนภัยให้แก่สมาชิกรับทราบถึงอันตรายที่ได้รับหรือจะมาถึง



    มดงานก็จะมาอยู่รวมเป็นกลุ่มและมีปฏิกิริยาโต้ตอบโดยใช้กรามและหนวดกางออกอย่างกว้างๆ ในมดบางกลุ่มมีการปล่อยกรดฟอร์มิกออกมาทางด้านปลายส่วนท้อง เป็นการขับไล่ศัตรูออกไป มดแต่ละตัวจะมีที่รับสารเคมีเหล่านี้ได้ดีมากและรวดเร็วซึ่งจะอยู่ที่หนวดและส่วนอ่อนของลำตัวมดยังมีการสื่อสารโดยการใช้หนวดด้วยเช่นกัน จะเห็นอยู่เป็นประจำในลักษณะที่เรียกว่าจูบกัน (kissing) แต่ละตัวเมื่อพบกันตามทางเดิน โดยการเคลื่อนไหวหนวดจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งหรือไปข้างหน้าและข้างหลัง การเคลื่อนไหวของหนวดจะเป็นการแสดงตำแหน่งของอาหาร หรือรังพฤติกรรมการจูบนี้จะพบเห็นระหว่างช่วงที่มีการถ่ายเทอาหารใหแก่กันด้วย ขบวนการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนของเหลวที่อยู่ในกระเพาะด้านหน้าระหว่างสมาชิกด้วยกันและผู้มาเยี่ยมเยือนอาจเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันหรือได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารโดยการสั่นทำให้เกิดเสียงขึ้น พบได้ในมดบางชนิดที่ชอบอาศัยตามต้นไม้ เมื่อมีภัยมดงานที่อยู่ในรังจะกระตุ้นโดยการเคาะเบาๆตามพืชที่อาศัยเป็นผลทำให้เกิดเสียงอย่างดังและสามารถได้ยินได้ วิธีนี้เป็นการป้องกันต่อศัตรูและเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับมดที่อยู่บริเวณนั้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสื่อสารของมด หนวดถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่จะถ่ายทอดสัญญาณต่างๆออกไปให้มดงานที่อยู่รอบข้างได้รับรู้ มีการเปรียบเทียบไว้ว่าถ้าผึ้งจะใช้การการสื่อสารต่อกันโดยภาษาการเต้นรำ ส่วนมดนั้นจะใช้ภาษาของหนวดในการสื่อสาร
  • บริการกำจัดปลวก รับกำจัดปลวก - First Pest Service Co., Ltd